วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิเคราะห์ข้อสอบ O - Net คอมพิวเตอร์ 5 ข้อ ปี2556


  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อสอบ     
cr. http://campus.sanook.com/1370856/
     สวัสดีชาว blogger ทุกๆคนคะ วันนี้เราจะมาเเบบซีเรียสเครียดๆกันนะคะ คือเราจะมาวิเคาะห์ข้อสอบ O - Net ของวิชาคอมพิวเตอร์ คะ วันนี้เรายกมาแค่ 5 ข้อกันก่อนนะคะ ไปวิเคราะห์ข้อแรกกันเลยดีกว่าคะ ไปเลยยยยยยยยย
  1. นักเรียนจะเลือกใชืซอฟต์แวร์ใดสร้างภาพ 3 มิติของชิ้นงานเพื่อนำเสนอผลงานของตนเองในที่ประชุม
    1. Google Chrome 
    2.  Impress
    3. Adobe Illustrator
    4.  Microsoft Access
    5. Pro / DESKTOP
     วิเคราะห์ข้อสอบ :

  • Google Chromeโปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดเว็บไซต์
  • Impress ใช้สำหรับนำมานำเสนองาน ที่รู้จักกันดีในชื่อ Power Point
  • Adobe Illustrator โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็น                                ลายเส้น
  • Microsoft Access โปรแกรมพัฒนาฐานข้อมูล ส่วนมากจะเป็นตาราง

    ตอบ 5 : เพราะเป็นซอร์ฟแวร์ที่สามารถสร้างชิ้นงานในรูปแบบ 3 มิติได้โดยไม่เสีย                                        ค่าใช้จ่าย
 2. ข้อใดสรุปความรู้เรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศได้ถูกต้อง
      1.  ระบบสารสนเทศโดยทั่วไปคือการจัดการข้อมูลให้นไปใช้ประโยชน์ได้
      2.  ระบบสารสนเทศจะทำงานได้ต้องประกอบด้วยบุคคลากร ข้อมูล และฮาร์ดแวร์
      3.  ระบบสารสนเทศเป็นกระบวนการทำงานของฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ที่เขียนขึ้น    โดยเฉพาะ
      4. ระบบสารสนเทศเป็นขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
      5. ระบบสารสนเทศจะทำงานได้มีประสิทธิภาพ องค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ บุคลากรต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอน จัดการข้อมูลด้วยฮาร์ดแวร์ และเลือกใช้ซอร์ฟแวร์ได้      เหมาะสมกับลักษณะงาน
     วิเคราะห์ข้อสอบ : 

  • มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

     ตอบ 5 : ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งระบบสารสนเทศจะไม่สมบูรณ์ ทำงานไม่ได้ โดย                                           เฉพาะบุคลากรซึ่งจะต้องสามารถใช้องค์ประกอบอื่นๆ ได้อย่างมี                                                     ประสิทธิภาพ

          3. องค์ประกอบข้อใดที่ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์รวดเร็วและ                 ได้ปริมาณมาก
      1. แรม
      2. บัส
      3. หน่วยประมวลผลกลาง
      4. จอภาพ
      5. การ์ดจอ
     วิเคราะห์ข้อสอบ : 



    ตอบ 2 : เพราะบัสเปรียบเสมือนเส้นทางขนส่งข้อมูล ยิ่งมีบัสมากก็จะรับ - ส่งได้เร็ว
                                          
        4. หน่วยงาน A ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ บนเครือข่าย LAN
          หน่วยงาน B ใช้ระบบปฏิบัติการลินกซ์ บนเครือข่าย WAN 
          ถ้าสองหน่วยงานนี้ต้องการติดต่อสื่อสารส่งข้อมูลกันต้องใช้โพรโทคอลชนิดใด
      1. ใช้ TCP/IP และ POP3
      2.  ใช้ FTP เหมือนกัน
      3. ใช้ TCP/IP เหมือนกัน
      4. ใช้ SMTP และ IrDA
      5. ใช้ FTP และ IrDA
     วิเคราะห์ข้อสอบ : 

  • TCP/IP (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • FTP (File Transfer Protocol) ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพี
  • SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) ใช้สำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • IrDA (Infrared Data Association) ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายระยะใกล้ และไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยใช้แสงอินฟราเรดในการติดต่อสื่อสาร

     ตอบ 3 : เพราะเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะรับ - ส่งข้อมูลต้องใช้โพรโทคอลชนิด                                               เดียวกัน และTCP/IP ใช้สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ
                  และอยู่บนเครือข่ายต่างกัน
       5. ขนาดของบัสที่ช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลทได้ปริมาณมากและเครื่องคอมพิวเตอร์ทงานได้                  รวดเร็วมากที่สุดตรงกับข้อใด
      1. 4 บิต
      2. 8 บิต
      3. 16 บิต
      4. 32 บิต
      5. 64 บิต
     วิเคราะห์ข้อสอบ :  เส้นทางการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลร่วมกัน ระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่าง ๆ บนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ บัสจะมีความกว้างหลายขนาด ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องพีซี 

     ตอบ 5 : เพราะจำนวนบัสยิ่งมากยิ่งถ่ายโอนข้อมูลได้ปริมาณมากต่อครั้ง  และ                                              รวดเร้วมากยิ่งขึ้น




                จบลงแล้วนะคะสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบ O-Net วิชาคอมพิวเตอร์ เป็นไงกันบ้างคะมันไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมคะ  เราก็ขอลากันไปเลยแล้วกันนะคะ พบกันใหม่บล็อคหน้า สวัสดีคะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น